วันอาทิตย์, 5 พฤษภาคม 2567

“ทิศทางและอนคตของลำไยไทย” สารภีเปิดเวทีระดมความเห็น หวังยกระดับสร้างมาตรฐานราคา

29 ก.ค. 2023
1238

“ทิศทางและอนคตของลำไยไทย” อำเภอสารภีจัดระดมความเห็นส่งต่อให้รัฐบาล หวังผลัดกันให้เกิดมาตรฐานด้านราคาลำไย ชงไปทั้ง 2 ทาง เป็น พรบ.ลำใย หรือ วิธีสหการกำหนดเป็น พรฎ. ให้ท้องถิ่นทั่วประเทศร่วมกันสนับสนุนเพิ่มช่องทางการจำหน่าย

วันที่ 29 ก.ค. 2566 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุม 100 ปี โรงเรียนวัดเวฬุวัน ต.ยางเนิ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อำเภอสารภีจัดเสวนาตามโครงการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยตกต่ำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ “ทิศทางและอนคตของลำไยไทย” โดยมี นายเลอยศ พุทธชิโนรสสกุล นายอำเภอสารภี เป็นประธานเปิดและร่วมเวทีเสวนา เพื่อระดมความคิด ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลำไย หรือสหการลำไย หรือกฎหมายลำไย เพื่อเสนอต่อรัฐบาล และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิด “ภาคใต้มีกฎหมายยาง ภาคกลางมีกฎหมายข้าว และภาคเหนือเรา ยังไม่มี…กฎหมายลำไย” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางนัยนภัส สังขนุกิต พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวสุภาภร ศรีวิชัยผู้แทนเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ นายธีรวัฒน์ บาลสุข อดีตนักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายพิชัย อุ่นแสง รองประธานสภาอาชีพเกษตรกร นายรังสรรค์ ชมภู ผู้แทนเกษตรกรอำเภอสารภี นายสมศักดิ์ ตาไชย ผู้แทน สส.ลำพูน เขต 2 โดยมี ผู้นำท้องที่ เกษตรกรชาวสวนลำไย ในพื้นที่ อ.สารภี ร่วมรับฟังการเสวนาและแสดงความเห็น

นายเลอยศ พุทธชิโนรสสกุล นายอำเภอสารภี กล่าวว่า เวทีเสวนาทิศทางและอนคตของลำไยไทยมีเป้าหมายอยากให้ลำไยมีมาตรฐานทั้งเรื่องการผลิต คุณภาพ และราคา ที่ผ่านมาจะพบว่าเกือบทุกปีราคาลำใยที่ขายได้มีราคาต่ำกว่าทุน ทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยเดือนร้อน เวทีนี้ได้เชิญผู้ที่มีส่วนสำคัญที่เกี่ยข้องในการที่จะช่วยกันผลักดันให้ลำใยมีคุณภาพได้มาตรฐาน ให้ลำไยได้อยู่คู่ประเทศไทย เกษตรกรมีรายได้ไม่ขาดทุนลดการเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจการสร้างรายได้ เวทีนี้เป็นการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่อง พรบ.ลำใย หรือเรื่องสหการ ระดมความคิดเห็นกันเพื่อให้ลำไยผลไม้สำคัญของภาคเหนือมีความมั่นคง มีการเติบโตไปในทิศทางที่ดี ที่สำคัญคือ เกษตรกรผู้ปลูกลำใยไม่เดือดร้อน ขายลำไยได้ในราคาที่คุ้มทุน มีกำไร

“บทสรุปที่ได้จากการเสวนาครั้งนี้จะมีการส่งต่อ ส่วนหนึ่งจะไปสนับสนุน พรบ.ลำใย ที่ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน แม้จะมีการพยายามที่จะผลัดดันให้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามเสนอใช้หลัการสหการซึ่งอยู่ในกฎหมาย พรบ.เทศบาล มาตรา 58 มาตรา 59 เป็นกฎหมายในระดับผู้บริหาร ไม่ต้องเสนอไปยังสภา สามารถจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาผลไม้อายุสั้น ซึ่งอาจรวมไปถึงผลไม้ชนิดอื่น เช่น ลิ้นจี่ ลองกอง มังคุด จะใช้ได้กับผลไม้ที่หลากหลาย สหการจะเป็นนิติบุคคลโดย อปท. ทั่วประเทศ สามารถจัดหาตลาดรับซื้อล่วงหน้าได้ หรือจะเป็นตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ก็ได้ ก็จะทำให้ช่องทางการจำหน่ายของเกษตรกรมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เวทีนี้จะร่วมระดับการแก้ปัญหาราคาผลไม้อายุสั้น โดยเฉพาะลำไย ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน และจะผลัดดันไปยังรัฐบาลที่กำลังมีการจัดตั้งอยู่ขณะนี้” นายอำเภอสารภี กล่าว

นายเลอยศ พุทธชิโนรสสกุล กล่าวอีกว่า การผลักดันให้เกิดกฎหมายลำไยจะไปทั้ง 2 ทาง ทั้ง พรบ.ลำใย และการใช้กฎหมายสหการ ทางใดทางหนึ่งสำเร็จก่อนจะเป็นผลดีต่อเกษตรกร เป็นทางลัดให้เกษตรกรมีหลักประกันให้ลำไยผลไม้ที่อยู่คู่ประเทศไทยมานานให้ได้ราคาที่เกษตรกรไม่เดือดร้อน ไม่ใช่ปลูกไปพอถึงเวลาจะขายต้องควักเงินเพิ่มไปอีก ภาพการโค่นลำใยทิ้ง ตัดลำไยไปทำอย่างอื่น ก็จะไม่เกิดขึ้น การเสวนาครั้งนี้เป็นการระดมความคิดในการที่จะช่วยกันผลักดันแนวทางทำให้เกิดมาตรฐานด้านราคาของลำใยให้เกิดขึ้นให้ได้ในอนาคต