วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

มติอัปยศ!!! โดย…ผู้ตรากฎหมาย

บทความนี้ วิเคราะห์ตามหลักกู ตามที่กูเรียนมา ตามหลักที่ที่ซึ่งกูเรียนมาเคยบอกให้กูเรียกว่า “นิติรัฐ นิติธรรม” กูไม่ได้ฝักไฝ่ฝากฝ่ายใดเป็นพิเศษ แต่หากว่า กูเห็นว่า เมื่อ “หลักแห่งกฎหมาย” มันบิดเบี้ยว สมควรที่…
ไอ้อี 395 ตน ต้องออกจากการเป็น “ผู้ตรากฎหมาย”

จากประเด็น “รัฐสภา” ตีตกไม่ให้มีการเสนอให้โหวต “พิธา” รอบ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 โดย…
– อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ทักท้วงว่า การเสนอชื่อ “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรีอีกเป็นครั้งที่ 2 โดย สส. พรรคเพื่อไทย ขัดกับข้องบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41
– ที่ประชุมรัฐสภาอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดย พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ ส่งขุนพลในพรรคช่วยกันอภิปราย ผสมโรงด้วย สมาชิกวุฒิสภา เกือบทั้งก๊วน
– เสรี สุวรรณภานนท์ สว. เสนอให้ที่ประชุมลงมตีว่า การเสนอ “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 ขัดข้อบังคับ ข้อ 41 และไม่ควรเสนอซ้ำ หรือไม่
– ประธานรัฐสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นให้มีการลงมติ โดยไม่มีการใช้อำนาจประธานรัฐสภาวินิจฉัย
– ผล สส. กับ สว. เห็นด้วยว่า ขัดกับข้อบังคับฯ ข้อ 41 จำนวน 395 คน (เสียง) ไม่เห็นด้วยว่าขัดฯ 312 คน (เสียง) งดออกเสียง 8 คน (เสียง) ไม่ลงคะแนน 1 คน (เสียง) และยังมี สส. กะ สว. ที่ไม่ทำอะไรเลย อีกส่วนหนึ่ง ในจำนวนนี้มีชื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
– ผู้ที่ไม่ลงคะแนนคือ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ฝาก สว.
– งดออกเสียง 8 คน 2 คนในกลุ่มนี้มี ชวน หลีกภัย และ บัญญัติ บรรทัดฐาน ฝาก สส.
– เห็นด้วย 312 คน คงไม่ต้องพูดถึง ก็ฝากฝั่ง 8 พรรคร่วม แต่ไม่มี “เสรีรวมไทย” สำหรับ 395 คน ที่เห็นว่า การเสนอพิธาเข้ามาเป็นรอบที่ 2 ขัดกับข้อบังคับ ข้อ 41 เป็น เป็น สว. เกือบจะทั้ง 250 คน และเป็น สส. จาก พรรคพลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนากล้า ครูไทยเพื่อประชาชน ท้องที่ไทย และพรรคประชาธิปไตยใหม่
ทั้ง 395 คน นี้ ส่อว่า…อาจกระทำผิด โดยกระทำขัดกฎหมายสูงสุดของประเทศไทย กฎหมายที่ชื่อว่า…รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ประเด็นที่ยกมาอ้าง ข้อ 41 ของ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 บัญญัติไว้ใน ส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ ซึ่งมีตั้งแต่ข้อ 29 ไล่เรียงไปถึง ข้อ 41 ข้อที่เป็นประเด็นยกมาอ้าง เป็นข้อสุดท้ายของส่วนที่ 2 นี้

ข้อ 41 บัญญัติว่า “ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป”

หลักในข้อ 41 นี้ก็คือ “ญัตติ” ก็ต้องไปหาล่ะว่า “ญัตติ” ในเจตนารมณ์แห่งข้อบังคับข้อนี้ คืออะไร

เมื่อย้อนไปดูใน ข้อ 29 ซึ่งเป็นข้อแรกในส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ ความหมายคำว่า “ญัตติ” ดูจะเด่นชัดเจนยิ่ง

ข้อ 29 บัญญัติว่า “ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น”

เพราะฉะนั้น “ญัตติ” ใน ส่วนที่ 2 ของการเสนอญัตติ มี “หลัก” ว่า
“ญัตติ” ต้องเสนอล่วงหน้า 1
“ญัตติ” ต้องทำเป็นหนังสือ 1
และ “ญัตติ” ต้องมีสมาชิกรับรอง ไม่น้อยกว่า 10 คน

ส่วน “ข้อยกเว้น” ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ นี้เช่นกัน ซึ่งบัญญัติไว้ใน ข้อ 32 และโยงไปอีกหลายข้อซึ่งระบุชัดว่าเป็นเรื่องอะไรบ้าง เพราะเป็นข้อยกเว้น หากแต่ “การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” ไม่ได้บัญญัติไว้ในข้อยกเว้นข้อใดทั้งสิ้นในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 นั่นหมายความว่า….

การเสนอชื่อเพื่อขอความเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็น “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมนี้ ก็ต้องเข้า “หลัก” ตามข้อ 29 ของข้อบังคับนี้

คำถามมีว่า การเลือกนายกรัฐมนตรี ในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 หากว่าเป็น “ญัตติ” ใครเป็นคำทำหนังสือเสนอล่วงหน้าต่อประธานรัฐสภา และมีสมาชิกแห่งรัฐสภาไม่น้อยกว่า 10 คน รับรอง มีใครมั่ง ?!?!?!

ถ้าไม่มีตาม “หลัก” ตาม ข้อ 29 นั่นก็หมายความว่า การประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ของ รัฐสภา ก็ไม่ใช่ “ญัตติ”
และ เมื่อไม่ใช่ “ญัตติ” ก็ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาฯ ในส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ จริงไหม ?!?!?!

หากไปเปิดเอกสารของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ทั้งฉบับเชิญประชุมวันที่ 13 ก.ค. 66 วันที่ 19 ก.ค. 66 รวมถึงฉบับที่เชิญวันที่ 27 ก.ค. 66 ที่จะถึง ระบุเป็นวาระ เรื่องที่เสนอใหม่ กับ เรื่องด่วน เกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีว่า…

“พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

วาระเขียนไว้ชัด อ่านกันง่ายๆ ชัดๆ แทบไม่ต้องแปล แต่ไม่เข้าใจว่า ทั้ง สส. ทั้ง สว. รวม 395 คน ใยไม่เข้าใจ ว่านี่คือ…

กระบวนการการให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งเทียบศักดิ์กับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาแล้ว ข้อบังคับฯ นั้นน่ะ มีศักดิ์ต่ำเตี้ยเรี่ยดินสิ้นดี

มาตรา 5 วรรคแรก “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”

ในเมื่อ รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ต้องดำเนินการเยี่ยงไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น จะเอากฎหมายอื่นมาใช้บังคับไม่ได้

การกระทำของทั้ง 395 ตน เพียงเพื่อจะสกัดใครบางคนไม่ให้ขึ้นสู่ตำแหน่ง เพียงเพราะ “ไม่ชอบหน้า ไม่ชอบพฤติกรรม ไม่ชอบวิธีคิดการทำงาน” แต่!!!!! ไร้ซึ่งการจะธรรรงค์ไว้ซึ่ง “หลัก” แห่งกฎหมาย ทั้งที่ต้องเป็นแบบอย่างเคร่งครัดในการใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไร้อคติ เพราะว่า ทั้ง 395 ตน ล้วนเป็น “ผู้ตรากฎหมาย” ก็ต้องบอกว่า…

มติ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในการ “พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” นั้น เป็น “มติอัปยศ” สิ้นดี และ ทั้ง 395 ตน ต้องพิจารณาตัวเอง ออกมาจากการเป็น “ผู้ตรากฎหมาย” ซะ นับถัดจากวันที่มีมตินั้น

 

วายุ 24 ก.ค. 66